ชนิดของลอนลูกฟูก
เราทุกคนต่างทราบกันดีว่า ถ้าเส้นโค้งนำมาปรับให้เหมาะสม จะเป็นการทำให้พื้นที่ที่ต้องการทอดข้าม เกิดความแข็งแรงมากที่สุด ดังนั้นผู้ผลิตกระดาษลูกฟูกจึงนำหลักการเดียวกันนี้ เข้ามาใช้ในการผลิตความโค้งของลอนกระดาษลูกฟูก โดยเราเรียกเส้นโค้งของกระดาษนี้ว่า " ลอนลูกฟูก " และเมื่อนำลอนนี้มาติดกับแผ่นกระดาษเรียบ ( Linerboard ) พวกมันจะสามารถทนทานต่อความโค้งงอ และแรงกดได้จากทุกทิศทาง
ลอนลูกฟูกมีหลายชนิดโดยลอนแต่ละประเภทจะมีขนาดและความสูงของลอนไม่เท่ากัน รวมถึงความเหมาะสมกับการใช้งานก็แตกต่างกันด้วย ตารางด้านล่างจะเป็นการนำลอนแต่ละชนิดมาเปรียบเทียบ เพื่อทำความเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ชนิด |
ความสูงของลอน ( มม.) |
จำนวนลอน / เมตร |
คุณสมบัติ |
ลอน A |
4.0 - 4.8 |
105 - 125 |
เหมาะกับสินค้าที่ต้องการรับน้ำหนักการเรียงซ้อนมาก และไม่เน้นการพิมพ์ |
ลอน B |
2.1 - 3.0 |
150 - 185 |
เหมาะกับสินค้าที่รับน้ำหนักได้ด้วยตัวมันเอง เช่น กระป๋องเหล็ก |
ลอน C |
3.2 - 3.9 |
120 - 145 |
เป็นที่นิยมใช้กันมาก เหมาะกับสินค้าทั่วๆไปที่รับน้ำหนักได้ปานกลาง |
ลอน E |
1.0 - 1.8 |
290 - 320 |
รองรับการพิมพ์ได้ดีที่สุด เหมาะกับกล่องไดคัทขนาดเล็ก หรือ กล่องออฟเซ็ท |
การเปรียบเทียบคุณสมบัติของลอนกระดาษลูกฟูก
คุณสมบัติ
|
ลอน A
(ลอนใหญ่) |
ลอน B
(ลอนเล็ก) |
ลอน C
(ลอนกลาง) |
ลอน E
(ลอนจิ๋ว) |
การรับแรงในการเรียงซ้อน | PP PP | PP |
PP P | P |
คุณภาพการพิมพ์ | P | PP P | PP | PP PP |
คุณภาพการตัดและอัด | P | PP P | PP | PP PP |
ความต้านทานต่อการเพิ่มทะลุ | PP P | PP | PP PP | P |
การใช้งานในการเก็บคงคลัง | PP PP | PP | PP | P |
การทับเส้น/การทับพับ | P | PP P | PP | PP PP |
การป้องกันการสั่นและการกระแทก | PP PP | PP | PP P | P |
การดันทะลุ | P | PP P | PP | PP |